ใบงาน 7 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Dreamweaver
1. โปรแกรม Dreamweaver เป็นโปรแกรม
ตอบ สร้างเว็บเพจแบบเสมือนจริง ของค่าย Adobe ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ต้องการสร้างเว็บเพจไม่ต้องเขียนภาษา HTML หรือโค๊ดโปรแกรม เอง หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า "WYSIWYG " โปรแกรม Dreamweaver มีฟังก์ชันที่ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดวางข้อความ รูปภาพ ตาราง ฟอร์ม วิดีโอ รวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ภายในเว็บเพจได้อย่างสวยงามตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่ต้องใช้ภาษาสคริปต์ที่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนก่อน Dreamweaver มีทั้งในระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และไมโครซอฟท์วินโดวส์ Dreamweaver ยังสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง WINE ได้
2.ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม
1. แถบเมนูหลัก (Menu bar)
เป็นแถบรวมรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม
โดยแบ่งคำสั่งทั้งหมดออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของการใช้งาน
2. แถบเครื่องมือ (Insert Bar) เป็นแหล่งรวมเครื่องมือซึ่งใช้ในการวางออบเจ็กต์ชนิดต่าง ๆ
ลงบนหน้าเว็บเพจ เช่น ข้อความ รูปภาพ ลิงค์ รูปเคลื่อนไหว เป็นต้น
โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มคำสั่งเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก
ซึ่งจะประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งดังนี้
-
Common ใช้วางออบเจ็กต์ที่ต้องใช้งานบ่อย ๆ
เช่น รูปภาพ ตาราง ไฟล์มัลติมีเดีย เป็นต้น
-
Layout ใช้วางออบเจ็กต์ที่ใช้จัดโครงสร้างของเว็บเพจ
เช่น ตาราง เฟรม และ AP element
(หรือเลเยอร์)
-
Forms ใช้วางออบเจ็กต์ที่ใช้ในการสร้างแบบฟร์อมรับข้อมูล
เช่น ช่องรับข้อความ ปุ่มตัวเลือกต่าง ๆ เป็นต้น
-
Data ใช้วางคำสั่งที่ใช้การจัดการฐานข้อมูล
และดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงบนเว็บเพจ
-
Sary ใช้วางออบเจ็กต์ที่ใช้เทคโนโลยีของ
Ajax
-
jQuery Mobile ใช้สร้างหน้าเพจที่แสดงบนอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ตโดยใช้เทคโนโลยีแบบ
jQuery
-
InContext Edting ใช้สร้างออบเจ็กต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเว็บเพจได้
-
Text ใช้สำหรับจัดปรับแต่งหรือจัดรูปแบบของตัวอักษรและข้อความสะดวกให้ผู้ใช้งาน
เช่น หัวเรื่อง ตัวหน้า ตัวเอียง รวมทั้งแทรกสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ เช่น $
(Dollar) © (Copyright) เป็นต้น
-
Favorites เป็นกลุ่มที่สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งที่ใช้บ่อยจากกลุ่มอื่น
ๆ เข้ามาเก็บไว้ใช้งานเอง เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
3. พื้นที่สร้างงาน (Document area) เป็นส่วนที่ใช้สร้างหน้าเว็บเพจ ใส่เนื้อหา และองค์ประกอบต่าง ๆ
ของเว็บเพจ
ซึ่งสามารถเลือกเปิดพื้นที่สร้างงานได้ด้วยกัน 4 มุมมอง
- มุมมองออกแบบ
(Design
View) ใช้แก้ไขและจัดวางเนื้อหาต่าง ๆ ลงบนเว็บเพจ
- มุมมองโค้ด
(Code
View) ใช้สำหรับเปิดดูคำสั่งต่าง ๆ เช่น HTML PHP ASP และ JSP และสามารถแก้ไขคำสั่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
- มุมมองโค้ดและออกแบบ
(Code
and Design View หรือ Split)
แสดงทั้งแบบมุมมองออกแบบ และมุมมองโค้ดพร้อมกัน
สามารถปรับขนาดพื้นที่ของแต่ละส่วนได้โดยคลิกลากที่เส้นแบ่งระหว่างทั้ง 2 ส่วนนี้
- มุมมองแสดงเว็บเพจเหมือนดูบนเบราเซอร์
(Live
View) แสดงหน้าเว็บเพจเหมือนดูบนเบราเซอร์ทั้งในส่วนของ JavaScript
และ Plugin
4. หน้าต่าง properties inspector เป็นหน้าต่างเล็ก ๆ ที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอโปรแกรม
เป็นส่วนที่ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติสำคัญ ๆ
ของออบเจ็กต์ที่วางในหน้าเว็บเพจ เช่น ตำแหน่ง ขนาด และสี
5. กลุ่มหน้าต่างพาเนล (Panels) เป็นหน้าต่างเล็ก ๆ
ที่รวบรวมเครื่องมือไว้เป็นกลุ่มตามหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น
6. แถบสถานะ (Status Bar) เป็นแถบที่อยู่ทางด้านล่างของหน้าต่าง
ๆ Document ประกอบด้วย 2 ส่วน
คือ ด้านซ้ายเป็น Tag Selector ส่วนด้านขวาเป็นเครื่องมือต่าง
ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น